ตำบลข้าวสาร

ตำบลข้าวสาร ที่ตั้ง ตำบลข้าวสารเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากอำเภอบ้านผือ รวมระยะทางทั้งสิ้น 13 กิโลเมตร การปกครอง ตำบลข้าวสารแบ่งการปกครองออกเป็นจำนวน 10 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านเม็ก หมูที่ 2 บ้านดอนขวาง หมู่ที่ 3 บ้านกุดเข็ง หมู่ที่ 4 บ้านข้าวสาร หมู่ที่ 5 บ้านหินตั้ง หมู่ที่ 6 บ้านดอนหอ หมู่ที่ 7 บ้านเม็ก หมู่ที่ 8 บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 9 บ้านทรายทอง

ตำบลหนองหัวคู

ตำบลหนองหัวคู ที่ตั้ง ตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน ๑๓ ตำบลของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านผือ ๒๒ กิโลเมตรและห่างจากจังหวัดอุดรธานี ๓๔ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านเทื่อม ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านเจริญสุข ตำบลคำบง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พื้นที่ ตำบลหนองหัวคูมีเนื้อที่ทั้งหมด ๔๐.๙๖๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๕,๖๐๖ ไร่ ของพื้นที่รวมทั้งตำบล

ตำบลเมืองพาน

ตำบลเมืองพาน คำขวัญประจำตำบลเมืองพาน เมืองพานถิ่นรอยพระบาท ธรรมชาติตระการตา ผ้าหมี่สวยล้ำงามฤชา ใบเสมาพันปี ชื่อเสียงดี ข้าวเม่างาม ที่ตั้ง ตำบลเมืองพานเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากอำเภอบ้านผือ รวมระยะทางทั้งสิ้น 14 กิโลเมตร เนื้อที่ ตำบลเมืองพาน มีปริมาณพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 75.837 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 56,696 ไร่ ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบริมน้ำ ตอนกลางเป็นพื้นที่ลูกลื่นลาดชัน ประมาณร้อยละ 2 – 6 ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาภูพานลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่เชิงเขา หมู่บ้าน ตำบลเมืองพาน แบ่งการปกครองออกเป็นจำนวน 16 หมู่บ้าน คือ 1.บ้านจอมศิริ 2.บ้านใหม่ 3.บ้านโก่ม

ตำบลโนนทอง

ตำบลโนนทอง ข้อมูลทั่วไป ตำบลโนนทอง มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครอง 15 หมู่บ้าน  โดยมีชื่อหมู่บ้านทั้ง 15 ชื่อ ลำดับที่ ชื่อหมู่บ้าน ลำดับที่ ชื่อหมู่บ้าน ๑ คู ๙ นาไฮ ๒ ดง ๑๐ นาเตย ๓ โพน ๑๑ โนนหวาย ๔ โนนแดง ๑๒ ดอนตาล ๕ โนนดู่ ๑๓ ดงบัง ๖ โนนทอง ๑๔ นาไฮ ๗ ดอนตาล ๑๕

วัดโพธิ์ชัยศรี

วัดโพธิ์ชัยศรี หรือวัดหลวงพ่อนาค ตั้งอยู่ที่บ้านแวง หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาค เดิมมีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่เศษ ต่อมามีชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้บริจาคที่ดินให้ และบริจาคทุนทรัพย์ซื้อเพิ่มเติม จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ ๗๑ ไร่ ๑๔ ตารางวา มีท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิมล(พระมหาอัมพร อโสโก) เป็นเจ้าอาวาส และดำรงตำแหน่งตำเจ้าคณะอำเภอบ้านผือ (มหานิกาย) วิทยฐานะ นักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖ ประโยคและอภิธรรมบัณฑิต เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒๓ ภายในบริเวณวัดมีพระพุทธรูปปางนาคปรก มีนาค ๗ หัว ชูเหนือเศียรองค์พระ ซึ่งเป็นพระที่เก่าแก่

ตำบลจำปาโมง

ตำบลจำปาโมง ประวัติความเป็นมา เหตุที่ตำบลจำปาโมง ได้ชื่อดั่งนี้เพราะพื้นที่บ้านหมู่ ๑,หมู่ ๓ นั้น ในอดีตนั้นเป็นดงไม้ลั่นขามซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ดงจำปา” ประกอบกับมีลำห้วย ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน เรียกลำห้วยนี้ว่าลำห้วยโมง จึงได้ประกอบเป็นตำบลรวมเรียกว่า “ตำบลจำปาโมง” โดยให้บ้านจำปาโมงเป็นบ้านเริ่มแรก หมู่ ๑ คำขวัญ “ลำห้วยโมงไหลผ่าน ม่านฟ้าภูผาแดง แสงธรรมงามส่องหล้า หลวงปู่ฟ้าน่าเลื่อมใส บุญบั้งไฟประจำปี เจดีย์หลวงปู่พงษ์ ดำรงข้าวพันธุ์ดี ลีลาวดีศรีจำปาโมง” เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แบ่งเขตการปกครองออกแบ่งเป็น ๑๗ หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ ๑ บ้านจำปาโมง หมู่ที่ ๒ บ้านนาอ่าง หมู่ที่

ตำบลกลางใหญ่

ตำบลกลางใหญ่ ข้อมูลทั่วไป ตำบลกลางใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๑๓.๔๕ ตารางกิโลเมตร ห่างจากอำเภอบ้านผือ ๑๕ กิโลเมตรห่างจากจังหวัดอุดรธานี ๗๑ กิโลเมตร แบ่งหมู่บ้านในเขตการปกครองออกเป็น ๑๓ หมู่บ้าน มีชื่อเรียกอยู่ ๔ ชื่อ คือ บ้านกลางใหญ่ หมู่ที่ ๑,๕,๙,๑๐,๑๒ บ้านโนนตาแสง หมู่ที่ ๖,๑๑ บ้านนาสีดา หมู่ที่ ๓,๗ บ้านผักบุ้ง หมู่ที่ ๒,๔,๘,๑๓ ประชากรทั้งหมด ๘,๘๘๐ คน เป็นชาย ๔,๔๒๘ คน หญิง ๔,๔๕๒ คน ครัวเรือน

เรือนแก้วพระอุปคุต

เรือนแก้วพระอุปคุต พระอุปคุตเถระเป็นพระสาวกที่มีลักษณะเด่นทางฤทธานุภาพทำหน้าที่ฝ่ายกำราบอธรรม ท่านมีชีวิตช่วงเวลาเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราช บทบาทเด่นของท่านก็คือเป็นผู้รักษาพระบรมสารีกธาตุในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เรือนแก้วพระอุปคุตมีลักษณะทรง ๑๒ เหลี่ยม ซึ่งหมายถึงหลักธรรมคำสอนว่าด้วยกฏธรรมชาติแห่งชีวิต ๑๒ ประการ ขนาดความกว้างและความยาวเท่ากันคือ ๒๘ เมตร หมายถึงพระนามของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์สูง ๓๗ เมตร หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการที่ให้ถึงตรัสรู้ ภาย ในบรรจุพระบรมสารีกธาตุซึ่งได้รับมาจากที่ต่าง ๆ เช่น ได้รับจากสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร , วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร , วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดกลาง จ.สุพรรณบุรี และได้รับจากประเทศศรีลังกา เป็นต้น ภายในยังมีภาพวาดฝาผนังบรรยายประวัติพระอุปคุตเถระ

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีชื่อว่า “ป่าเขือน้ำ” บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กม. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทแห่งนี้ ปรากฏร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว มีการพบภาพเขียนสีมากกว่า 30 แห่ง ยังพบการดัดแปลงโขดหินและเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนใน วัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี สืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง ตามลำดับ ซึ่งร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของ มนุษย์ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทางกรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ ป่าสงวนจำนวน 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา

พระมหาธาตุเจดีย์

พระมหาธาตุเจดีย์ วัดป่าบ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี วัดป่าบ้านค้อ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปณฺโญ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘ จากเดิมเป็นป่าช้าเก่าและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา ปัจจุบันวัดป่าบ้านค้อมีเนื้อที่รวม ๔๑๐ ไร่ มีเสนาสนะและการสาธารณูปโภคที่เหมาะต่อการอยู่อาศัยปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่าเหมาะแก่การปลีกวิเวก ในส่วนของการเผยแผ่ มหาเถรสมาคมประกาศให้วัดป่าบ้านค้อเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุดรธานี (ธ) แห่งที่ ๒ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคนี้